Translate

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โรค ASD รักษาไม่หายขาด แต่พัฒนาได้


โรค ASD รักษาไม่หายขาด แต่พัฒนาได้

Autism Spectrum Disorder

โรค ASD คืออะไร?
     โรค ASDทุกคนอาจจะสงสัยกันว่ามันคือโรคอะไร? แล้วมันมีอาการเป็นอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไรกันใช่ไหมคะ? วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันเถอะ!!! ก่อนที่เราจะพาไปรู้ว่าโรคASDนั้นเป็นอย่างไร เรามารู้จักคำว่า ASD กันก่อนดีกว่า 


          ASD ย่อมาจาก Autism Spectrum Disorder คือโรคออทิสติกหรือออทิสซึ่มนั้่นเอง มีรากศัพท์มาจากภาษา กรีก แปลว่า ตัวเอง โดยที่เราใช้คำนี้เรียกคนที่มีลักษณะผิดปกติจากคนทั่วไป คือความบกพร่องของพัฒนาการในหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านภาษา การสื่อสาร ด้านทักษะสังคม ด้านพฤติกรรม และอารมณ์ โรคออทิสติกจะพบได้ตั้งแต่เด็กในวัยก่อน 2 ขวบครึ่ง ถึง 3 ขวบ โดยประมาณ และยังสามารถเป็นได้ทุกคน




สาเหตุเกิดจากอะไร??

        สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่มีปัจจัยหลายๆปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคออทิสติก  1.เกิดจากการที่สมองมีความบกพร่องในการรับข้อมูล 2.เกิดจากการบูรณาการประสาทการับรู้ด้านความรู้สึกบกพร่อง 3. เกิดจากกรรมพันธุกรรมที่อาจมีผู้ที่เป็นโรคออทิสติกอยู่แล้ว และส่วนมากจะพบมาหในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงในอัตรา 4 : 1





ลักษณะอาการเป็นอย่างไร???
         
         ลักษณะอาการที่เราสามารถสังเกตุได้จากพฤติกรรมอาการของเด็กในหลายๆด้าน เช่น

1.ในด้านของภาษาและการสื่อสา เราสามารถสังเกตได้จากเด็กนั้นไม่ค่อยพูด พูดออกมาแล้วเป็นคำพูดที่ไม่มีความหมาย พูดซ้ำๆไปมาอยู่ตลอด ชอบพูดเป็นภาษาการ์ตูนหรือภาษาที่ตัวเองเข้าใจอยู่คนเดียว

2.ในด้านของสัมคม ก็จะมีลักษณะของการชอบอยู่คนเดียว ชอบเล่นคนเดียว ทำกิจกรรมอยู่คนเดียว จะไม่ค่อยเข้ากลุ่มในสังคม และยังไม่ค่อยสบตากับใครได้ง่ายๆ ไม่ค่อยสนใจกับสิ่งแวดล้อมหรือคนรอบข้าง

3.ในด้านพฤติกรรมอารมณ์และการเล่น จะมีลักษณะพฤติกรรมที่แปลกๆออกไปจากเด็กทั่วไป มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น อาจจะมีการสะบัดมือ หมุนตัว โยกตัวไปมา และชอบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และอาจยังมีการติดไม้ติดมือของสิ่งของต่างๆอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นช้อน ส้อม หลอด หรือสิ่งของต่างๆที่เหมาะและถนัดในการหยิบใช้ นำมาใช้โดยไม่ถูกลักษณะของการใช้สิ่งของเช่น จิ๊กซอว์ที่โดยทั่วไปแล้วเราจะนำมาต่อกันบนกระดานพวกนี้เขาก็จะเล่นไม่เป็น เขาก็จะหยิบเอามาโยนเล่นหรือหมุนเล่นไปมาแทน เป็นต้น

           ลักษณะอาการดังกล่าวที่เราพอจะสังเกตุได้ หากท่านใดสังเกตุเห็นอาการต่างๆเหล่านี้กับลูกหลานของคุณแล้ว คุณอย่านิ่งนอนใจเป็ฯอันขาด ควรที่จะพาเด็กไปพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักพัฒนาเด็กหรือแพทย์เด็กและวัยรุ่น ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยและอาจจะส่งต่อให้กับนักการกระตุ้นพัฒนาการเด็กเพื่อเข้ารับการพัฒนาได้ระดับต่อไป ถ้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาตั้งแต่อายุยังน้อยจะยิ่งช่วยให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว





โรคASDนี้สามารถรักษาได้หายขาดหรือไม่????

       เป็นคำถามที่ไม่ว่าใครก็อยากจะถามและอยากจะรู้คำตอบของมัน ซึ่งในทางการแพทย์แล้วปัจจุบันนี้ยังไม่มียาตัวไหนที่จะรักษาโรคนี้ให้หายขาด มีเพียงตัวยาที่จะคอยช่วยลดอาการพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ลดน้อยลง เพื่อให้เด็กนั้นมีพฤติกรรม อารมณ์ให้ดีขึ้น และยังต้องร่วมกับการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้มีพัฒนาการให้ดีขึ้น


เครื่องเล่นการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก

เครื่องเล่นการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก

เครื่องเล่นการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก














ป้ายบอกลักษณะอาการที่สังเกตุได้






















































การส่งเสริมการพัฒนาของเด็กที่เป็นโรคASDควรมีวิธีอย่างไร????


      ารส่งเสริมมีได้หลากหลายรูปแบบนะคะเริ่มแรกเมื่อคุณเริ่มคืดว่าลูกหลายของท่านมีอาการดังกล่าว ควรที่จะพาเด็กนั้นเข้ารับการประเมิณแรกรับดูก่อนว่ามีความบกพร่องหรือมีปัญหาในส่วนไหนบ้าง? และปัญาหาแต่ละส่วนมีากน้อยแค่ไหน? ถ้าเป็นในเรื่องของกล้ามมัดเล็ก มัดใหญ่ ควรที่จะจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับกล้ามเนื้อของเด็ก แล้วช่วยส่งเสริมให้ลูกหลานของท่านนั้นมีพัฒนาการในส่วนนั้นให้ดีขึ้นตามลำดับ อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนานั้นค่อนข้างยาว ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นและการพัฒนาของลูกหลายของท่านเอง


สัมภาษณ์นักกระตุ้นพัฒนาการเด็ก


วิธีแนะนำการดูแลการต่อยอดในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กควรมีวิธีอย่างไร???

            นเรื่องของวิธีการดูแลเป็นเรื่องที่ทุกบ้านจะต้องคอยช่วยดูแลสอดส่องอยู่ทุกบ้านอยู่แล้ว เพราะเด็กที่เป็นโรคนี้จะต้องมีคนคอยดูแลอย่างสม่ำเสมอ หากขาดคนดูแลอาจจะทำให้เกิดอันตรายที่ไม่คาดฝันต่อเด็กได้ ก่อนอื่นนะคะผู้ปกครองหรือผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็กที่เป็นโรคนี้จะต้องยอบรับแล้วก็ทำความเข้าใจกับความเป็นไปของโรคนี้ เพราะจะทำให้รู้ว่าการที่เด็กมีพฤติกรรมต่างๆนั้นเกิดมาจากสาเหตุอะไร จากนั้นจึงนำมาปรับการเลี้ยงดู การดูแลให้เหมาะสมกับเด็ก นอกจากจะปรับการเลี้เยงดูแล้วพ่อกับแม่จะต้องมีส่วนร่วมในการเล่นหรือทำกิจกรรมกับเด็กให้มากที่สุด เพื่อให้เขารู้สึกว่าเขไม่โดดเดี่ยว รู้สึกว่าเขายังมีคนที่ยังคอยอยู่ข้างๆเขาเสมอ นอกจากจะเลี้ยงดูด้วยตนเองแล้วควรจะพาเด็กไปพบแพทย์หรือนักกระตุ้นพัฒนาการเพื่อให้คุณหมอหรือนักกระตุ้นพัฒนานั้นแนะนำวิธีการจากทางแพทย์มาประยุกต์ใช้ทำให้ส่งเสริมจากที่ได้ให้คุณหมอนั้นช่วยพัฒนาให้อาการของเด็กนั้นดีขึ้นนั้นเอง เห็นไหมคะว่าวิธีการดูแลนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลยใครๆก้ช่วยดูแลได้แต่ต้องขึ้นอยู่ในการดูแลของแพทย์หรือนักกระตุ้นในระยะแรก เพื่อให้รู้ทักษะการเลี้ยงดู และนำทักษะที่ได้รับมามาพัฒนาให้เด็กนั้นมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้ ถึงโรคนี้จะรักษาไม่หายขาดแต่มันก็สามารถช่วยให้เด็กที่เป็นโรคนี้นั้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่องๆจนอาจทำมีพฤติกรรมที่ปกติเหมือนเด็กคนอื่นก็เป็นได้..... 





      ตัวอย่างวิธีการสาธิตการกระตุ้นพัฒนาการ



          คลิปวิดีโอนี้ นักกระตุ้นพัฒนาการมาแนะนำวิธีการสาธิตวิธีการกระตุ้นพัฒนาการให้กับเด็กที่มีปัญหาในด้านของกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ เป็นวิธีการที่ง่ายสามารถทำได้ทุกคนที่จะนำไปช่วยพัฒนาให้กับเด็กที่เป็นโรคASDให้ดีขึ้นได้ 

เห็นไหมคะว่าถึงแม้โรคASD ออทิสติกจะรักษาไม่หายขาดแต่เรานั้นสามารถช่วยพัฒนาให้ดีขึ้นได้ด้วยตัวของคุณเอง!!!! ฉะนั้นอย่าตื่นตระหนกกับโรคทุกโรค เพราะทุกอย่างมีทางออกอยู่เสมอ! ^_^




สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
โรคASDรักษาไม่หายขาด แต่พัฒนาการได้ โดย สุพรรษา คำเย็น อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.



                                                                                                             จัดทำโดย











นางสาวสุพรรษา คำเย็น รหัส5606375
กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยรังสิต  นักศึกษาชั้นปีที่3
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์  สาขาสื่อสารการตลาด